Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปลาประหลาด New Armored, Wood-Eating Catfish

ปลาประหลาด สวมชุดเกราะ กินท่อนไม้ (New Armored, Wood-Eating Catfish)
ปลาประหลาด

ภาพที่เห็นนี้เป็นปลาสายพันธุ์ใหม่ที่พึ่งมีการค้นพบ(ภาพที่เห็นถ่ายจากใต้น้ำ) เนื่องจากพึ่งมีการค้นพบพวกมันจึงยังไม่มีชื่อ ภาพนี้บันทึกได้จาก ป่าอเมซอน ที่แม่น้ำ Santa Ana
ประเทศเปรู(Peru) เมื่อปี 2006

รายละเอียด
ปลาดุกกินไม้(wood-eating catfish)บ้างก็เรียกพวกมันว่า ปลาดุกสวมเกราะปากดูด(suckermouth armored catfish)
ปลาดุกกินไม้ ทั้งหมด เป็นปลาใน สกุล(genus) Panaque

ปลาดุกกินไม้ เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวกว่า 80 เซ็นติเมตรพวกมันใช้ฟันที่มีลักษณะพิเศษ ขูด สารอินทรีย์ จากผิวไม้ เช่น พวกสาหร่าย พืชน้ำขนาดเล็ก สัตว์ขนาดเล็ก และพวกเศษซากอื่น กินเป็นอาหาร

แต่สำหรับ เศษไม้นั้น ปลาดุกกินไม้ไม่สามารถย่อย ไม้ ได้โดยลำพัง พวกมันต้องอาศัย พันธมิตร ที่เป็น จุลชีพ ในการย่อยไม้เหล่านั้น
แต่เดิมมีความเชื่อว่า พวกมัน มี จุลชีพชนิดพิเศษที่ใช้ย่อยไม้อาศัยอยู่ในลำไส้ แต่ จากการค้นคว้าล่าสุดพบว่า พวกมันกินจุลชีพที่สามารถย่อยสลายไม้ได้ที่มีอยู่มากมาย ตามผิวไม้เข้าเพื่อช่วยในการย่อย เศษไม้

ในทางวิทยาศาสตร์ ปลาดุกกินไม้สายพันธุ์นี้ จะเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่สำหรับชาวพื้นเมือง ใน ป่าอเมซอน โดยเฉพาะในเปรู ต่างคุ้นเคยกับพวกมัน และรสชาติ ของพวกมันเป็นอย่างดี ทั้งเมนู ซุป หรือจะเป็น บาร์บีคิว ยิ่งพวกมันมีเกราะหุ้มร่างกาย ทำให้เสมือนเป็นเตาอบอย่างดี เมื่อนำไปปรุง

ปลาดุกกินไม้ สายพันธุ์ใหม่ ที่ นักวิทยาศาสคร์ นักอนุรักษ์ธรรมชาิต Paulo Petry กำลังถืออยู่ในมือ เป็นหนึ่งในตัวอย่างปลาดุกกินไม้ สายพันธุ์ใหม่ ที่จับได้ โดย นักชีววิทยาชาวเปรู ชื่อว่า Roberto Quispe เมื่อฤดูร้อนปี 2010
เมือจับตัวพวกมันหงายขึ้น จะเห็นปากรูปช้อนกลมที่ใช้เป็นปากดูดสีเหลืองสด มีฟัน 4 แถวเรียงอยู่ ที่สามารถขับได้รอบทิศทาง สำหรับขูด เศษพืช สาหร่าย บนผิวไม้ เพื่อใช้กินเป็นอาหาร
ปาก และฟันของมันถูกวิวัฒนาการณ์ มาเพื่อการแข่งขันในการหาอาหารในแม่น้ำ ในป่าอเมซอน โดยเฉพาะเนื่องจาก ใน แม่น้ำนั้นไม่ค่อยมีหินมากนัก มีแต่โคลน และทอนไม้ ที่สัตว์ชนิดอื่นกินไม่ไ้ด้ แต่ พวกมันกินได้

ภาพนี้เป็นภาพถ่าย ซีทีสแกน(CT scanner) ที่จะเห็นกรามอยู่แข็งแรง 4 แถว
ภาพนี้เป็นภาพของตัวอย่างปลาดุกกินไม้ เพศผู้โตเต็มวัย ที่จับได้ในเปรูเมือปี 2006 ที่มีหนามแหลม ที่ บริเวณข้างแก้ม บริเวณหน้าผาก และที่ครีบข้างลำตัว หนามแหลมที่เหมือนแปลงเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า odontodes นาย Natham Lujam นักชีววิทยาจาก มหาวิทยาลัย Texas A&M กล่าวว่า หนามแหลมเหล่านี้มีไว้ใช้เพื่อกิจกรรมทางเพศของพวกมัน และใช้ในการข่มขวัญ ป้องกันตัว

รายการบล็อกของฉัน