วงศ์ปลาสอด (วงศ์: Poeciliidae)
วงศ์ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า "มอลลี่" (Molly) และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลาสอด" ซึ่งเข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า sword ที่หมายถึง ดาบ อันเป็นลักษณะของปลายหางของปลาในวงศ์นี้บางสกุลที่คล้ายกับวงดาบ มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก, อเมริกากลาง, จนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้จนถึงเกาะมาดากัสการ์ด้วย
เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว
เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata), ปลาเซลฟิน (P. latipinna), ปลาสอดหางดาบ (Xiphophorus hellerii)
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายจากดั้งเดิมยิ่งขึ้นมากมาย โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ที่เยอรมนี จนเกิดเป็นชนิดใหม่ขึ้นมา เช่น "เพลตี้" (Platy) หรือ ปลาเซลฟินที่ได้ครีบหลังสูงและใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนดูคล้ายใบเรือจริง ๆ หรือ ปลาสอดมิดไนท์ที่พัฒนาจนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท
สำหรับในประเทศไทย ปลาในวงศ์นี้ ได้ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเลี้ยงในอ่างบัวของผู้มีฐานะ จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดี ด้วยคุณสมบัติที่เลี้ยงง่าย เติบโตไว ขยายพันธุ์ง่าย และมีราคาถูก อีกทั้งยังมีประโยชน์คือสามารถกินแมลงขนาดเล็ก ๆ ทีมีวงจรชีวิตในน้ำได้ด้วย จึงใช้เป็นปลาที่จำกัดลูกน้ำยุงต่าง ๆ มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" และยังนิยมเพาะเพื่อเป็นปลาเหยื่อสำหรับปลากินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย เช่น ปลาอะโรวาน่า (Scleropages formosus) เป็นต้น
โดยคำว่า "Poeciliidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ποικίλος" (poikilos) หมายถึง "มีสีสันที่แตกต่างหลากหลาย"
http://www.youtube.com/embed/oMNm0IRHOp0
ปลาสอดลงทุนน้อยขยายพันธุ์ง่ายส่งออกได้
ในบรรดาปลาสวยงามด้วยกันนั้น "ปลาสอด" เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย, มีความอดทน และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่จำเป็นต้องติดตั้งท่อออกซิเจนในบ่อหรือสถานที่เลี้ยง ที่สำคัญจัดเป็นปลาสวยงามที่เพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย มีความหลาก หลายทางด้านสีสัน โดยมีสีแดง, สีเขียว, สีเหลือง, สีดำ และสีขาว เป็นหลัก
คุณฤทธิชัย เตี้ยเนตร ชาวจังหวัดราชบุรี มีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสอดมานานกว่า 10 ปี แต่จะเน้นการเพาะเลี้ยงเพียง 3 สี คือ สีแดง, สีเหลืองและสีขาว ในบ่อเพาะเลี้ยงของคุณฤทธิชัยจะทำการปล่อยพ่อแม่พันธุ์กว่า 300 ตัว โดยให้มีระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 50 เซนติเมตร ปลาสอดที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องคัดเลือกเป็นพิเศษ คือ ตัวใหญ่, แข็งแรง, สีสวย และรูปร่างได้สัดส่วน ความแตกต่างระหว่างตัวเมียกับตัวผู้ดูได้จากส่วนท้อง (ตัวเมียท้องใหญ่ ตัวผู้ท้องเล็ก) ปลาสอดเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวเหมือนกับปลาหางนกยูง แม่ปลา 1 ตัวจะให้ลูกประมาณ 10-20 ตัวต่อครั้ง ในแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 7-10 วัน ด้วยปลาสอดมักจะกินลูกของตัวเอง ดังนั้นเราควรจะหาที่ซ่อนให้กับลูกปลาเวลาที่เกิดออกมา เช่น นำเชือกฟางฉีกเป็นฝอย ๆ และมัดรวมกันหรือใช้ส่วนของรากผักตบชวาหรือใบตอง เพื่อให้ลูกปลาไปหลบซ่อนจะทำให้ลูกปลาสอดที่เกิดมามีอัตราการรอดตายสูง
สำหรับการอนุบาล ลูกปลาสอด คุณฤทธิชัยบอกว่าในแต่ละบ่อจะปล่อยลูกปลาสอดได้ถึง 2,000-3,000 ตัว ดูความหนาแน่นจากสายตา โดยทั่วไปขนาดของบ่อที่นิยมเลี้ยงปลาสอดนั้นจะเป็นบ่อปูนซีเมนต์ที่มีขนาดความกว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.50 เมตร และสูง 0.5 เมตร ควรจะให้ไรแดงแก่ลูกปลาวันละ 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ลูกปลาโตไว เมื่อลูกปลามีอายุได้ 1 เดือน เปลี่ยนมาให้อาหารปลาดุกเล็กชนิดพิเศษ ให้เพียงวันละ 1 มื้อ หลังจากนั้นจะมีการแยกขนาดและเพศเมื่อปลามีอายุได้ประมาณ 2-3 เดือน ลูกปลาที่มีขนาดลำตัวยาว 1 นิ้ว เริ่มจำหน่ายได้ ราคาซื้อ-ขายส่งลูกปลาขนาด 1 นิ้ว จะเริ่มต้นที่ราคา 80 สตางค์ต่อตัว, ขนาด 1.2 นิ้ว ราคา 1 บาทต่อตัวและขนาด 1.5 นิ้ว ราคา 1.50-2 บาทต่อตัว ราคานี้จะต้องซื้อเป็นร้อย ๆ ตัว
ปัญหาเรื่องโรค เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาสอด จะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยครั้งอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยการเปิดน้ำเก่าออกแล้วปล่อยน้ำใหม่เข้าไปแทนที่ โรคมักจะเกิดในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว สถานที่ตั้งบ่อเลี้ยงปลาสอด ควรจะมุงด้วยตาข่ายพรางแสง 80% จะช่วยทำให้ปลามีสีเข้มขึ้น
ปัจจุบันตลาดซื้อ-ขาย ปลาสอดผู้ผลิตพันธุ์ปลาจะนำเข้าไปขายส่งที่ตลาดนัดจตุจักรเป็นหลัก มีพ่อค้า-แม่ค้าจากทั่วประเทศมาซื้อไปจำหน่ายต่อ ปัจจุบันมีการส่งปลาสอดไปขายยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น
เรียบเรียงข้อมูลโดย menmen
เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว
เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata), ปลาเซลฟิน (P. latipinna), ปลาสอดหางดาบ (Xiphophorus hellerii)
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายจากดั้งเดิมยิ่งขึ้นมากมาย โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ที่เยอรมนี จนเกิดเป็นชนิดใหม่ขึ้นมา เช่น "เพลตี้" (Platy) หรือ ปลาเซลฟินที่ได้ครีบหลังสูงและใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนดูคล้ายใบเรือจริง ๆ หรือ ปลาสอดมิดไนท์ที่พัฒนาจนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท
สำหรับในประเทศไทย ปลาในวงศ์นี้ ได้ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเลี้ยงในอ่างบัวของผู้มีฐานะ จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดี ด้วยคุณสมบัติที่เลี้ยงง่าย เติบโตไว ขยายพันธุ์ง่าย และมีราคาถูก อีกทั้งยังมีประโยชน์คือสามารถกินแมลงขนาดเล็ก ๆ ทีมีวงจรชีวิตในน้ำได้ด้วย จึงใช้เป็นปลาที่จำกัดลูกน้ำยุงต่าง ๆ มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" และยังนิยมเพาะเพื่อเป็นปลาเหยื่อสำหรับปลากินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย เช่น ปลาอะโรวาน่า (Scleropages formosus) เป็นต้น
โดยคำว่า "Poeciliidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ποικίλος" (poikilos) หมายถึง "มีสีสันที่แตกต่างหลากหลาย"
http://www.youtube.com/embed/oMNm0IRHOp0
ปลาสอดลงทุนน้อยขยายพันธุ์ง่ายส่งออกได้
ในบรรดาปลาสวยงามด้วยกันนั้น "ปลาสอด" เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย, มีความอดทน และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่จำเป็นต้องติดตั้งท่อออกซิเจนในบ่อหรือสถานที่เลี้ยง ที่สำคัญจัดเป็นปลาสวยงามที่เพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย มีความหลาก หลายทางด้านสีสัน โดยมีสีแดง, สีเขียว, สีเหลือง, สีดำ และสีขาว เป็นหลัก
คุณฤทธิชัย เตี้ยเนตร ชาวจังหวัดราชบุรี มีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสอดมานานกว่า 10 ปี แต่จะเน้นการเพาะเลี้ยงเพียง 3 สี คือ สีแดง, สีเหลืองและสีขาว ในบ่อเพาะเลี้ยงของคุณฤทธิชัยจะทำการปล่อยพ่อแม่พันธุ์กว่า 300 ตัว โดยให้มีระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 50 เซนติเมตร ปลาสอดที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องคัดเลือกเป็นพิเศษ คือ ตัวใหญ่, แข็งแรง, สีสวย และรูปร่างได้สัดส่วน ความแตกต่างระหว่างตัวเมียกับตัวผู้ดูได้จากส่วนท้อง (ตัวเมียท้องใหญ่ ตัวผู้ท้องเล็ก) ปลาสอดเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวเหมือนกับปลาหางนกยูง แม่ปลา 1 ตัวจะให้ลูกประมาณ 10-20 ตัวต่อครั้ง ในแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 7-10 วัน ด้วยปลาสอดมักจะกินลูกของตัวเอง ดังนั้นเราควรจะหาที่ซ่อนให้กับลูกปลาเวลาที่เกิดออกมา เช่น นำเชือกฟางฉีกเป็นฝอย ๆ และมัดรวมกันหรือใช้ส่วนของรากผักตบชวาหรือใบตอง เพื่อให้ลูกปลาไปหลบซ่อนจะทำให้ลูกปลาสอดที่เกิดมามีอัตราการรอดตายสูง
สำหรับการอนุบาล ลูกปลาสอด คุณฤทธิชัยบอกว่าในแต่ละบ่อจะปล่อยลูกปลาสอดได้ถึง 2,000-3,000 ตัว ดูความหนาแน่นจากสายตา โดยทั่วไปขนาดของบ่อที่นิยมเลี้ยงปลาสอดนั้นจะเป็นบ่อปูนซีเมนต์ที่มีขนาดความกว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.50 เมตร และสูง 0.5 เมตร ควรจะให้ไรแดงแก่ลูกปลาวันละ 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ลูกปลาโตไว เมื่อลูกปลามีอายุได้ 1 เดือน เปลี่ยนมาให้อาหารปลาดุกเล็กชนิดพิเศษ ให้เพียงวันละ 1 มื้อ หลังจากนั้นจะมีการแยกขนาดและเพศเมื่อปลามีอายุได้ประมาณ 2-3 เดือน ลูกปลาที่มีขนาดลำตัวยาว 1 นิ้ว เริ่มจำหน่ายได้ ราคาซื้อ-ขายส่งลูกปลาขนาด 1 นิ้ว จะเริ่มต้นที่ราคา 80 สตางค์ต่อตัว, ขนาด 1.2 นิ้ว ราคา 1 บาทต่อตัวและขนาด 1.5 นิ้ว ราคา 1.50-2 บาทต่อตัว ราคานี้จะต้องซื้อเป็นร้อย ๆ ตัว
ปัญหาเรื่องโรค เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาสอด จะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยครั้งอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยการเปิดน้ำเก่าออกแล้วปล่อยน้ำใหม่เข้าไปแทนที่ โรคมักจะเกิดในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว สถานที่ตั้งบ่อเลี้ยงปลาสอด ควรจะมุงด้วยตาข่ายพรางแสง 80% จะช่วยทำให้ปลามีสีเข้มขึ้น
ปัจจุบันตลาดซื้อ-ขาย ปลาสอดผู้ผลิตพันธุ์ปลาจะนำเข้าไปขายส่งที่ตลาดนัดจตุจักรเป็นหลัก มีพ่อค้า-แม่ค้าจากทั่วประเทศมาซื้อไปจำหน่ายต่อ ปัจจุบันมีการส่งปลาสอดไปขายยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น
เรียบเรียงข้อมูลโดย menmen