ปริศนาเม็กกาโลดอน อะไรทำให้ฉลามที่ใหญ่ที่สุดในโลกสูญพันธุ์
ลอสแอนเจลิส – เม็กกาโลดอน ฉลามขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยแหวกว่ายในท้องมหาสมุทร อาจจะตัวโตเกินไปจนทำให้มีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์
งานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่า ด้วยสาเหตุที่ลึกลับบางประการ แม้ว่าสมาชิกขนาดเล็กที่สุดและใหญ่ที่สุดของสายพันธุ์จะมีขนาดยาวเท่าๆกัน อสูรกายแห่งท้องทะเลนี้ขยายใหญ่ขึ้นในช่วงเวลา 14 ล้านปี จากนั้นพวกมันก็สูญพันธุ์ไปหมด
ผู้ร่วมวิจัยคาตาลีนา พิเมียนโต นักศึกษาปริญญาเอกสาขาชีววิทยา ของมหาวิทยาลัยฟลอริด้า และสถาบันวิจัยเขตร้อนสมิธโซเนียนในปานามากล่าวว่า
แม้ว่าจะไม่ชัดเจนนักว่าเหตุใดเจ้าสัตว์ยักษ์นี้ถึงตัวโตขึ้นเรื่อยๆในช่วงวิวัฒนาการ แต่ขนาดใหญ่ของมันนั่นเองที่อาจทำให้มันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น เธอนำเสนอผลงานวิจัยของเธอที่งานประชุมประจำปีของสมาคมสัตว์ดึกดำบรรพ์มีกระดูกสันหลัง ปีที่ 73
ยิ่งใหญ่ยิ่งดีจริงหรือ?
พีเมียนโตกล่าวว่า เม็กกาโลดอนสามารถยาวได้ถึง 60 ฟุต (18 เมตร) และมีแรงกัดที่มีพละกำลังมากกว่าไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ มัจจุราแห่งท้องทะเลเหล่านี้ข่มขวัญท้องมหาสมุทรตั้งแต่ประมาณ 16 ถึง 2 ล้านปีที่แล้ว แม้ว่านั่นดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน แต่ฉลามสายพันธุ์อื่นๆนั้นอยู่รอดมาแล้ว 50 ล้านปีหรือนานกว่านั้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญในแปลนรูปร่างของมัน
“สายพันธุ์นี้ไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่พวกเราคิด” พิเมียนโตกล่าว “ฉลามหลายชนิดที่มีชีวิตอยู่ในยุคของเม็กกาโลดอนยังคงมีอยู่ทุกวันนี้”
ประวัติศาสตร์อันสั้นของเม็กกาโลดอนทำให้พิเมียนโตตั้งคำถามว่าเป็นเพราะขนาดตัวของฉลามชนิดนี้หรือไม่ที่สงผลต่อความสำเร็จด้านการวิวัฒนาการของพวกมัน
“ขนาดตัวส่งผลกระทบแทบจะทุกแง่มุมของระบบนิเวศน์และชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต” พิเมียนโตบอกกับ LiveScience “เมื่อมีสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่โตมากอย่างเม็กกาโลดอน นั่นอาจจะดีมากหรือแย่มากก็ได้”
พิเมียนโตกล่าวว่า บรรดาสัตว์ใหญ่จะสามารถกินอาหารได้หลากหลายกว่า และเป็นนักล่าที่ดุร้ายกว่าเหล่าสหายแคระของพวกมัน แต่เพราะว่าพวกมันกินสัตว์หลายชนิดกว่า มันจึงมีการแข่งขันที่มากกว่าเช่นกันเพื่อจะแย่งชิงสัตว์เหล่านั้น และระบบนิเวศสามารถรองรับความหนาแน่นของประชากรได้ต่ำลง เนื่องจากพวกมันต้องการทรัพยากรมากกว่า รวมถึงพื้นที่ เพื่อที่จะมีชีวิตรอด เมื่ออาหารค่อยๆลดลง สิ่งมีชีวิตขนาดยักษ์ก็อาจต้องลำบากในการหาอาหารให้เพียงพอ
ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
พิเมียนโตได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์หลายแห่งรอบโลก และวัดขนาดฟันของตัวอย่างเม็กกาโลดอน ประมาณ 400 ตัว จากการวัดนั้น เธอได้คาดคะเนขนาดตัวในระยะสุดท้ายของมันก่อนที่จะสูญพันธุ์
เธอสรุปว่าในขณะที่ขนาดที่ใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุดของสุดของเจ้าสัตว์ชนิดนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่กลับมีสัตว์ร้ายที่ขนาดใหญ่มากขึ้นในช่วงท้ายของวิวัฒนการของมัน
ยังคงไม่ชัดเจนนักว่าทำไมเจ้ายักษ์ร้ายถึงได้ขนาดใหญ่ขึ้น แต่พิเมียนโตวางแผนที่จะดูข้อมูลทางด้านภูมิอากาศและข้อมูลของสายพันธุ์อื่นๆเพื่อค้นหาคำตอบ
“บางทีอาจมีบางอย่างเกิดขึ้นกับการสืบพันธุ์และสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดรูปแบบเช่นนั้น หรือกับเหยื่อ และคู่แข่งของพวกมัน ที่ทำให้สายพันธุ์นี้ใหญ่ขึ้น” พิเมียนโตกล่าว
ไม่ว่าจะอย่างไร การที่ตัวโตนั้นอาจทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น แม้ว่าเขี้ยวยักษ์จะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับมัน อย่างฉลามขาว ก็ยังข่มขวัญท้องทะเลอยู่ตราบจนทุกวันนี้
“การเพิ่มขนาดในสายพันธุ์เม็กกาโลดอนที่อาจเป็นไปได้ในช่วงธรณีกาลนั้นจำเป็นจะต้องทดสอบต่อไป โดยการพิจารณาเม็กกาโลดอนที่รวบรวมจากทั่วโลก แต่ไอเดียนี้ก็สำคัญที่จะเข้าใจในการเจริญและสูญพันธุ์ของนักล่าสายพันธุ์สูงสุด ซึ่งจะต้องมีผลกระทบที่สำคัญต่อระบบนิเวศของมหาสมุทร”
เคนชู ชิมาดะ นักโบราณชีววิทยา ของมหาวิทยาลัยเดอโปลในชิคาโก ผู้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้กล่าว.....
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen
ลอสแอนเจลิส – เม็กกาโลดอน ฉลามขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยแหวกว่ายในท้องมหาสมุทร อาจจะตัวโตเกินไปจนทำให้มีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์
งานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่า ด้วยสาเหตุที่ลึกลับบางประการ แม้ว่าสมาชิกขนาดเล็กที่สุดและใหญ่ที่สุดของสายพันธุ์จะมีขนาดยาวเท่าๆกัน อสูรกายแห่งท้องทะเลนี้ขยายใหญ่ขึ้นในช่วงเวลา 14 ล้านปี จากนั้นพวกมันก็สูญพันธุ์ไปหมด
ผู้ร่วมวิจัยคาตาลีนา พิเมียนโต นักศึกษาปริญญาเอกสาขาชีววิทยา ของมหาวิทยาลัยฟลอริด้า และสถาบันวิจัยเขตร้อนสมิธโซเนียนในปานามากล่าวว่า
แม้ว่าจะไม่ชัดเจนนักว่าเหตุใดเจ้าสัตว์ยักษ์นี้ถึงตัวโตขึ้นเรื่อยๆในช่วงวิวัฒนาการ แต่ขนาดใหญ่ของมันนั่นเองที่อาจทำให้มันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น เธอนำเสนอผลงานวิจัยของเธอที่งานประชุมประจำปีของสมาคมสัตว์ดึกดำบรรพ์มีกระดูกสันหลัง ปีที่ 73
ยิ่งใหญ่ยิ่งดีจริงหรือ?
พีเมียนโตกล่าวว่า เม็กกาโลดอนสามารถยาวได้ถึง 60 ฟุต (18 เมตร) และมีแรงกัดที่มีพละกำลังมากกว่าไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ มัจจุราแห่งท้องทะเลเหล่านี้ข่มขวัญท้องมหาสมุทรตั้งแต่ประมาณ 16 ถึง 2 ล้านปีที่แล้ว แม้ว่านั่นดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน แต่ฉลามสายพันธุ์อื่นๆนั้นอยู่รอดมาแล้ว 50 ล้านปีหรือนานกว่านั้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญในแปลนรูปร่างของมัน
“สายพันธุ์นี้ไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่พวกเราคิด” พิเมียนโตกล่าว “ฉลามหลายชนิดที่มีชีวิตอยู่ในยุคของเม็กกาโลดอนยังคงมีอยู่ทุกวันนี้”
ประวัติศาสตร์อันสั้นของเม็กกาโลดอนทำให้พิเมียนโตตั้งคำถามว่าเป็นเพราะขนาดตัวของฉลามชนิดนี้หรือไม่ที่สงผลต่อความสำเร็จด้านการวิวัฒนาการของพวกมัน
“ขนาดตัวส่งผลกระทบแทบจะทุกแง่มุมของระบบนิเวศน์และชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต” พิเมียนโตบอกกับ LiveScience “เมื่อมีสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่โตมากอย่างเม็กกาโลดอน นั่นอาจจะดีมากหรือแย่มากก็ได้”
พิเมียนโตกล่าวว่า บรรดาสัตว์ใหญ่จะสามารถกินอาหารได้หลากหลายกว่า และเป็นนักล่าที่ดุร้ายกว่าเหล่าสหายแคระของพวกมัน แต่เพราะว่าพวกมันกินสัตว์หลายชนิดกว่า มันจึงมีการแข่งขันที่มากกว่าเช่นกันเพื่อจะแย่งชิงสัตว์เหล่านั้น และระบบนิเวศสามารถรองรับความหนาแน่นของประชากรได้ต่ำลง เนื่องจากพวกมันต้องการทรัพยากรมากกว่า รวมถึงพื้นที่ เพื่อที่จะมีชีวิตรอด เมื่ออาหารค่อยๆลดลง สิ่งมีชีวิตขนาดยักษ์ก็อาจต้องลำบากในการหาอาหารให้เพียงพอ
ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
พิเมียนโตได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์หลายแห่งรอบโลก และวัดขนาดฟันของตัวอย่างเม็กกาโลดอน ประมาณ 400 ตัว จากการวัดนั้น เธอได้คาดคะเนขนาดตัวในระยะสุดท้ายของมันก่อนที่จะสูญพันธุ์
เธอสรุปว่าในขณะที่ขนาดที่ใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุดของสุดของเจ้าสัตว์ชนิดนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่กลับมีสัตว์ร้ายที่ขนาดใหญ่มากขึ้นในช่วงท้ายของวิวัฒนการของมัน
ยังคงไม่ชัดเจนนักว่าทำไมเจ้ายักษ์ร้ายถึงได้ขนาดใหญ่ขึ้น แต่พิเมียนโตวางแผนที่จะดูข้อมูลทางด้านภูมิอากาศและข้อมูลของสายพันธุ์อื่นๆเพื่อค้นหาคำตอบ
“บางทีอาจมีบางอย่างเกิดขึ้นกับการสืบพันธุ์และสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดรูปแบบเช่นนั้น หรือกับเหยื่อ และคู่แข่งของพวกมัน ที่ทำให้สายพันธุ์นี้ใหญ่ขึ้น” พิเมียนโตกล่าว
ไม่ว่าจะอย่างไร การที่ตัวโตนั้นอาจทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น แม้ว่าเขี้ยวยักษ์จะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับมัน อย่างฉลามขาว ก็ยังข่มขวัญท้องทะเลอยู่ตราบจนทุกวันนี้
“การเพิ่มขนาดในสายพันธุ์เม็กกาโลดอนที่อาจเป็นไปได้ในช่วงธรณีกาลนั้นจำเป็นจะต้องทดสอบต่อไป โดยการพิจารณาเม็กกาโลดอนที่รวบรวมจากทั่วโลก แต่ไอเดียนี้ก็สำคัญที่จะเข้าใจในการเจริญและสูญพันธุ์ของนักล่าสายพันธุ์สูงสุด ซึ่งจะต้องมีผลกระทบที่สำคัญต่อระบบนิเวศของมหาสมุทร”
เคนชู ชิมาดะ นักโบราณชีววิทยา ของมหาวิทยาลัยเดอโปลในชิคาโก ผู้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้กล่าว.....
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen