Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พบ “ปลาเลือดอุ่น” ตัวแรกของโลก


พบ “ปลาเลือดอุ่น” ตัวแรกของโลก
นักวิทยาศาสตร์พบความจริงที่น่าตะลึง ปลา Opah ปลาตัวแรกของโลกที่มีเลือดอุ่นเหมือนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

นักวิทยาศาสตร์กำลังใส่เครื่องวัดอุณหภูมิเข้าไปในกล้ามเนื้อบริเวณอก ของปลา Opah ที่ยังมีชีวิต เพื่อตรวจวัดระดับความร้อนในร่างกายของมัน
เราทราบกันมานานแล้วว่า ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนพวกกิ้งก่าและสัตว์เลือดเย็นอื่นๆที่ไม่สามารถรักษาอุณหูมิร่างกายเอาไว้ได้ ต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนกทั้งหลายที่มีเลือดอุ่น นั่นหมายถึงอุณภูมิในร่างกายปลาจะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่นั่นเอง

แต่ล่าสุด มีการค้นพบปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลก นั่นคือปลา Opah มีชือทางวิทยาศาสตว์ว่า Lampris guttatus หรืออาจเรียกกันว่าปลา Moonfish ซึ่งมีระบบเลือดที่แตกต่างไปจากเพื่อนปลาด้วยกัน เพราะมันมีเลือดอุ่น!

เรารู้จักปลา Opah มานานแล้วแต่มีรู้เบื้องลึกเบื้องหลังของมันน้อยมาก Opah มีขนาดร่างกายยาวประมาณ 1.0 – 1.8 เมตร รูปร่างกลมแบน กินหมึกและปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร อาศัยอยู่ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลกที่ระดับความลึกราว 50-200 เมตร (ลึกกว่าความลุกเฉลี่ยของอ่าวไทย) ที่ซึ่งอุณหภูมิของน้ำทะเลค่อนข้างจะเย็น กล่าวคือประมาณราว 10°C และในบางครั้งมีรายงานการพบปลานี้ที่ความลึกถึง 396 เมตร

แต่กลับปรากฏว่า เลือดในร่างกายของมันยังคงรักษาความอุ่นไว้ได้ โดยอาศัยกล้ามเนื้อพิเศษบริเวณอก ผ่านการโบกครีบอกด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ความร้อนที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ในร่างกายของมันโดยชั้นไขมันใกล้ผิวหนังและไหลเวียนไปมาด้วยระบบการทำงานของเหงือกที่ไม่เหมือนเหงือกของปลาชนิดไหนในโลก

จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เนื้อเยื่อในเหงือกของปลานี้จะนำเลือดแดง (เลือดที่ยังไม่ใช้งาน) ที่มีอุณหูมิต่ำเข้าสู่ร่างกาย ไหลเวียนผ่านกล้ามเนื้อที่สร้างความร้อน จากนั้นเลือดที่ใช้งานแล้ว (เลือดดำ) จะนำความร้อนและคาร์บอนไดออกไซค์กลับจากร่างกายมาเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนที่เหงือกอีกครั้ง ผลคือเลือดแดงชุดใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ร่างกายจะรับการถ่ายเทความร้อนจากเลือดดำที่ไหลเวียนออกมา ทำให้ความร้อนในร่างกายไม่หายไปไหน นักวิจัยเรียกกระบวนการนี้ว่า counter-current heat exchange.

เพื่อพิสูจน์ผลการวิจัย นักวิทยาศาสตร์ติดตั้งเครื่องวัดอุณหูภมิไว้ในกล้ามเนื้ออกของปลา Opah ที่ยังมีชีวิตแล้วปล่อยมันกลับลงทะเล เมื่อมันดำน้ำลึกลงไปเรื่อยๆ จนลุึกกว่า 45 เมตร เครื่องวัดอุณหูภมิก็เริ่มรายงานค่าออกมา ปรากฏว่าอุณหูภมิในร่างกายของมันจะคงที่อยู่เสมอโดยมีค่าความร้อนสูงกว่าน้ำทะเลรอบตัวราว 5°C

ทีมนักวิจัยจะยังคงศึกษาปลานี้ต่อไปโดยจะเน้นไปที่ญาติของมันคือปลา Opah ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบมหาสมุทรที่ไกลออกไปทางใต้ ที่ซึ่งน้ำทะเลมีความเย็นมากกว่านี้ เพื่อดูการทำงานภายในร่างกายของปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลกนี้ว่าจะสร้างความแปลกใจกับวงการวิทยาศาสตร์ได้มากกว่านี้หรือไม่

รายการบล็อกของฉัน