🐋นักวิทย์ตะลึง! พบฟอสซิลปลาอายุ 250 ล้านปี รูปร่าง-วิธีกินคล้ายฉลาม
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยการค้นพบฟอสซิลปลาสายพันธ์ุใหม่ โดยผลการวิเคราะห์พบว่า มันเป็นปลาที่รูปร่างและวิธีการกินอาหารคล้ายฉลาม อาศัยอยู่บนโลกเมื่อกว่า 250 ล้านปีก่อน...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลปลาสายพันธ์ุใหม่ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา โดยเป็นกระดูกส่วนปาก ความยาวที่มากถึง 26 ซม. ทำให้พวกเขาเชื่อว่าความยาวทั้งตัวของปลาชนิดนี้น่าจะมากถึง 6 ฟุต มีกรามยาวและมีฟันที่แหลมคม บ่งชี้ว่า มันใช้วิธีงับเหยื่อก่อนที่จะกลืนลงไปทั้งตัว คล้ายกับฉลามในยุคปัจจุบัน
ฟอสซิลส่วนปากของ เบอร์จีเรีย อเมริกานา
ตามรายงานการค้นพบที่เผยแพร่ผ่านวารสาร ‘เรโน กาเซตต์’ ฉบับวันที่ 1 ส.ค. นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลปลาตัวนี้ครั้งแรกเมื่อ 5 ปีก่อน โดยตั้งชื่อให้มันว่า ‘เบอร์จีเรีย อเมริกานา’ มีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 250 ล้านปีก่อน ในยุค ‘ไทรแอสซิก’ โดยการค้นพบครั้งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมันช่วยทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองเห็นภาพว่า สัตว์นักล่าต่างๆ วิวัฒนาการอย่างรวดเร็วหลังปรากฏการณ์การสูญพันธ์ุครั้งใหญ่ครั้งที่ 3 ของโลก ที่เกิดขึ้นก่อนยุคไทรแอสซิกได้อย่างไร
ตามรายงานการค้นพบที่เผยแพร่ผ่านวารสาร ‘เรโน กาเซตต์’ ฉบับวันที่ 1 ส.ค. นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลปลาตัวนี้ครั้งแรกเมื่อ 5 ปีก่อน โดยตั้งชื่อให้มันว่า ‘เบอร์จีเรีย อเมริกานา’ มีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 250 ล้านปีก่อน ในยุค ‘ไทรแอสซิก’ โดยการค้นพบครั้งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมันช่วยทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองเห็นภาพว่า สัตว์นักล่าต่างๆ วิวัฒนาการอย่างรวดเร็วหลังปรากฏการณ์การสูญพันธ์ุครั้งใหญ่ครั้งที่ 3 ของโลก ที่เกิดขึ้นก่อนยุคไทรแอสซิกได้อย่างไร
หลักฐานต่างๆ ชี้ว่า เบอร์จีเรีย อเมริกานา มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 1 ล้านปี หลังการสูญพันธ์ุครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้สัตว์น้ำกว่า 90% หายไปจากโลก
นอกจากนี้มันยังแสดงให้เห็นว่า ปลาขนาดใหญ่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ในน้ำที่ที่เคยเชื่อกันว่าอุ่นเกินกว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ด้วย โดยในยุคนั้น น้ำที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรบนดินแดนซึ่งจะกลายมาเป็นรัฐเนวาดาในปัจจุบัน อาจมีอุณหภูมิมากกว่า 35.5 องศาเซลเซียส ซึ่งไข่ปลากระดูกแข็งในยุคปัจจุบันไม่สามารถเติบโตได้.