ค้นหา
Custom Search
ฉลามก็อบลิน’ ปลาที่รูปร่างหน้าตาน่ากลัวราวปีศาจ‘ แต่ความพิเศษของมันกลับเป็นดั่งเครื่องสแกนคลื่นไฟฟ้าที่มีชีวิต เป็นยังไงมาดู
ฉลามก็อบลิน หรืออีกชื่อที่เรียกตามหน้าตาว่า ฉลามปีศาจ ถือว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยังไม่สูญพันธุ์ และรูปร่างไม่ได้เปลี่ยนไปเลยแม้สักนิดเดียวจากในยุคก่อนประวัติศาสตร์
มนุษย์ค้นพบฉลามก็อบลินครั้งแรกหลังจากคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วในปี 1873 พบมากแถวเขตทะเลลึกต่ำกว่า 100 เมตรในอ่าวโตเกียว
มนุษย์ค้นพบฉลามก็อบลินครั้งแรกหลังจากคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วในปี 1873 พบมากแถวเขตทะเลลึกต่ำกว่า 100 เมตรในอ่าวโตเกียว
ฉลามก็อบลินมีจุดเด่นอยู่ที่ปลายจมูกที่ยื่นยาวออกมา จมูกอันนี้ไม่ได้มีไว้เท่ๆ เพียงอย่างเดียว มันสามารถที่จะใช้จับคลื่นไฟฟ้าจากสิ่งมีชีวิตได้
จากการศึกษาของนักธรรมชาติวิทยาพบว่า จมูกยาวๆ ของฉลามก็อบลินนั้นประกอบไปด้วยปุ่มอวัยวะเล็กๆ หลายร้อยอันที่สามารถจับคลื่นไฟฟ้าของสิ่งมีชีวิตได้แม้คลื่นไฟฟ้านั้นจะอ่อนถึง 1 ในล้านโวลต์เพื่อใช้ในการจับตำแหน่งของเหยื่อ
จมูกว่าน่าสนใจแล้ว ขากรรไกรของมันก็น่าสนใจยิ่งกว่า ขากรรไกรที่อัดแน่นไปด้วยฟันที่แหลมคมของฉลามก็อบลิน สามารถที่จะยืดออกและหุบเข้าเหมือนกับประตูพับเมื่อพวกมันโตเต็มที่ เพื่อใช้ในการพุ่งเข้างับเหยื่อไม่ให้หลุดจากปาก เพราะว่าปลาฉลามก็อบลินเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ค่อนข้างช้า ถ้าหากว่าเหยื่อที่งับอยู่หลุดออกไปก็คงต้องเหนื่อยจับเป็นอย่างมาก
การที่จะได้ดูฉลามก็อบลินแบบตัวเป็นๆ บนบกถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เพราะพวกมันเป็นสัตว์ที่อ่อนแอเมื่อขึ้นมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แปลกไป (สำหรับพวกมัน) เคยมีชาวประมงจับฉลามก็อบลินได้ขณะยังเป็นๆ
และส่งไปที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ปรากฏว่าไม่ถึง 3 วัน ฉลามก็อบลินก็ตายคาตู้ และเมื่อมันตายลงจากลำตัวสีขาวก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นสีแดงเหมือนเลือดเลยทีเดียว