Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

อังกฤษพบ ฟอสซิลสามมิติของปลา Pachycormus ยุคจูราสสิก ที่สูญพันธุ์ไปแล้วยังคงมีอวัยวะที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนหลงเหลืออยู่เกือบครบถ้วน

🍁อังกฤษพบ ฟอสซิลสามมิติของปลา Pachycormus ยุคจูราสสิก ที่สูญพันธุ์ไปแล้วยังคงมีอวัยวะที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนหลงเหลืออยู่เกือบครบถ้วน

👉🏿เป็นข่าวที่น่ายินดีและน่าสนใจมากๆเลยนะครับที่ประเทศอังกฤษ
พบฟอสซิลปลายุคจูราสสิก สภาพสมบูรณ์ครบสามมิติ ดูข่าวนี้แล้วเหมือนเรากำลังย้อนอดีตไปในยุค jurassic เลยนะครับ ในอดีตยุคไดโนเสาร์..มีอะไรที่ให้เราค้นคว้าอีกมากมาย..ว่าแต่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถขุดค้นพบซากฟอสซิล ซุกซ่อนอยู่ในชั้นดิน หินได้หรือไมยังเป็นปริศนาที่รอให้พิสูจน์และค้นหาอีกต่อไป

😂ทีมนักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ขุดพบฟอสซิลสัตว์ทะเลโบราณในยุคจูราสสิก (Jurassic) จำนวนมากถึงกว่า 180 ชิ้น โดยทั้งหมดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และมีชิ้นหนึ่งที่เป็นของปลา Pachycormus ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ยังคงมีอวัยวะที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนหลงเหลืออยู่เกือบครบถ้วนแบบสามมิติ

🐟ฟอสซิลจำนวนมากดังกล่าวถูกขุดพบที่ด้านหลังคอกวัวในฟาร์มแห่งหนึ่ง บริเวณรอบนอกของหมู่บ้านคอตส์วอลด์ (Cotswolds) สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในมณฑลกลอสเตอร์เชียร์ โดยพบซากปลาและหมึกโบราณ หอยแอมโมไนต์ รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานทะเลตัวยักษ์อย่าง Ichthyosaur ซึ่งทั้งหมดเคยมีชีวิตอยู่ในสมัยโทอาร์เชียน (Toarcian) หรือตอนต้นของยุคจูราสสิก เมื่อราว 183 - 174 ล้านปีก่อน

🧔🏻ดร. เนวิลล์ ฮอลลิงเวิร์ต จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ผู้นำทีมขุดค้นในครั้งนี้บอกว่า ปลา Pachycormus นั้นเป็นปลาจำพวกที่มีก้านครีบชนิดหนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ฟอสซิลของมันที่มีลักษณะเป็นสามมิติดังกล่าว ถือว่าโดดเด่นและแตกต่างจากฟอสซิลทั่วไปที่มักจะอยู่ในสภาพแบนราบ ส่วนอวัยวะที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนก็ยังถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี รวมทั้งลูกตา กระดูกเบ้าตา ไปจนถึงเกล็ดและก้างเล็ก ๆ ด้วย

🧔🏻ดร. ฮอลลิงเวิร์ตยังบอกว่า ในอดีตนั้นพื้นที่ตอนกลางของอังกฤษยังจมอยู่ใต้ท้องทะเลที่มีความลึกไม่มากนัก ทั้งยังมีสภาพคล้ายทะเลในเขตร้อน ทำให้ชั้นตะกอนดินและทรายก้นทะเลมีสภาพเหมาะต่อการเก็บรักษาฟอสซิล โดยมีชั้นโคลนที่อ่อนนิ่มอยู่ใต้ชั้นหินปูนที่แข็งกว่า

🐠ฟอสซิลปลาที่เก่าแก่กว่า 180 ล้านปี ยังคงมีเกล็ด ก้าง และลูกตาหลงเหลืออยู่

🧔🏻ดร. ดีน โลแม็กซ์ นักวิจัยรับเชิญของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ หนึ่งในสมาชิกของทีมขุดค้นอธิบายว่า การที่ฟอสซิลปลายุคจูราสสิกอยู่ในสภาพดีเยี่ยมอย่างเหลือเชื่อนั้น เป็นเพราะซากปลาจมลงสู่ก้นทะเลอย่างรวดเร็วหลังจากที่มันตายลง โดยที่พื้นทะเลในแถบนั้นน่าจะไม่มีสัตว์ชนิดที่ชอบคุ้ยเขี่ยกินซากอยู่เลย ทำให้ซากถูกฝังลงในชั้นตะกอนก้นทะเลได้อย่างรวดเร็วเหมือนถูกผนึกไว้อย่างดี จนเกิดการแทนที่ของแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในตัวปลาและกลายเป็นฟอสซิลในที่สุด

“การค้นพบที่คาดไม่ถึงครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเราจะสามารถนำตัวอย่างฟอสซิลชุดนี้ไปเปรียบเทียบกับฟอสซิลสัตว์ทะเลจากยุคเดียวกัน ซึ่งถูกพบในสถานที่หลายแห่งทั่วยุโรปและทวีปอเมริกา ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในช่วงต้นของยุคจูราสสิกให้มากขึ้น” ดร. โลแม็กซ์กล่าวสรุป

🌀สาระข้อมูลเพิ่มเติม

Pachycormus (จากภาษากรีก: παχύς pakhús, 'thick' และกรีก: κορμός kormós 'timber log') เป็นปลาในสกุลปลากระเบนที่มีครีบ pachycormiform ซึ่งรู้จักในยุคจูราสสิคตอนต้น (ระยะ Toarcian) ของยุโรป ชนิดพันธุ์ P. macropterus

👉🏿ได้รับการตั้งชื่อเป็นสายพันธุ์ Elops โดย Henri Marie Ducrotay de Blainville ในปี พ.ศ. 2361 และถูกวางลงในสกุลใหม่โดย Louis Agassiz ในปี พ.ศ. 2376 พบฟอสซิลในแหล่งฝากทางทะเลจากฝรั่งเศสเยอรมนีและอังกฤษ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Pachycormus ได้รับการพิจารณา monotypic มีเพียง P. macropterus โดยมีสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นคำพ้องความหมายจูเนียร์ของอดีตแม้ว่าจะถูกตั้งคำถามในภายหลัง

โดยทั่วไปแล้ว Pachycormus ถูกพิจารณาว่าเป็นฐานในหมู่ Pachycormiformes

🐠โดยล่าสุดสายวิวัฒนาการพบว่ามันเป็นพาคีคอร์มิฟอร์มที่มีพื้นฐานมากเป็นอันดับสองรองจาก Euthynotus มีความยาวสูงสุด 1 ม. (3.5 ฟุต) ฟันสั้นและออกแบบมาให้จับถนัดมือ นิเวศวิทยาของมันได้รับการตีความว่าเป็นนักล่าทั่วไป



🐟ส่วนหัวและส่วนปลายของ Pachycormus ที่ทำไว้ล่วงหน้า 3 มิติจาก Strawberry Bank Lagerstatte ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Beacon Limestone Formation ใน Somerset สหราชอาณาจักร

รายการบล็อกของฉัน