ปลากัดปีนังปลากัดนิสัยดี ที่ไม่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลากัดทั่วๆไป
ปลากัดคงเคยเห็นปลากัดมาแล้วนะครับมันมีสีสันสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไปแต่ปลากัดที่ผมจะนำมาเสนอนี้เป็นปลากัดที่ชื่อว่าปลากัดปีนังสีสันดูแล้วมันไม่สะดุดตาเท่าไหร่แต่ดีอย่างมันเป็นปลากัดที่ไม่มีนิสัยก้าวร้าวดุร้ายจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดบทความกันเลยดีกว่านะครับ
ปลากัดปีนัง หรือ ปลากัดภูเขา (อังกฤษ: Penang betta; ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta pugnax) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ย่อย Macropodusinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่
(Osphronemidae) รูปร่างและคล้ายปลากัดทั่วไป แต่มีลำตัวป้อมใหญ่กว่า หัวโต ครีบหางใหญ่ ตัวผู้มีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างแก้มสีฟ้าเหลือบเขียว เกล็ดมีจุดสีฟ้าเหลือบทั้งตัว ครีบสีน้ำตาลอ่อน
ครีบหลังและครีบหางมีลายเส้นประสีคล้ำ ครีบก้นมีขอบดำ ตัวเมียสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีคล้ำพาดตามแนวยาวของลำตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร
ข้อมูลเบื้องต้น ปลากัดปีนัง
ปลากัดนี้ ไม่เหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด อย่าง ปลากัดภาคกลาง (B. splendens) หรือ ปลากัดอีสาน (B. smaragdina) เนื่องจากการผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา
อีกทั้งปลากัดจำพวกนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดก่อหวอด จึงสามารถพบอยู่กันเป็นฝูงได้หลาย ๆ ตัว อีกทั้งอวัยวะที่ช่วยในการหายใจ ทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าปลากัดก่อหวอด
พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้เฉพาะภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น เช่น นครศรีธรรมราช, ตรัง, สตูล มีรายงานการพบบนเกาะตะรุเตาและพื้นอาศัยทับซ้อนกับปลากัดอมไข่สงขลา และพบได้ทั่วไปไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในประเทศมาเลเซีย และมีความเป็นไปได้ว่าปลากัดชนิดนี้มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับปลากัดชนิด B. enisae ซึ่งเป็นปลากัดประเภทอมไข่เช่นเดียวกัน ที่พบได้ในแถบกาลีมันตันของอินโดนีเซีย