Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

หอยงวงช้างกระดาษแปลกๆที่ไม่ค่อยจะมีใครได้พบเห็นมากนัก


หอยงวงช้างกระดาษแปลกๆที่ไม่ค่อยจะมีใครได้พบเห็นมากนัก

ไปถึงชื่อว่าหอยงวงช้างกระดาษอยากรู้ไหมว่ามันเป็นอะไรมันเป็นหอยประเภทไหนเดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดกันเลยดีกว่านะครับ


หอยงวงช้างกระดาษ
หอยงวงช้างกระดาษ (อังกฤษ: Paper nautilus, Argonaut) เป็นมอลลัสคาประเภทหมึก จำพวกหมึกสายสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Argonauta แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหอยงวงช้าง แต่ก็มิได้ถูกจัดให้อยู่ในจำพวกหอยงวงช้าง แต่ถูกจัดให้เป็นหมึกสาย
ภาพแสดงให้เห็นถึงตัวหอยและเปลือก


ข้อมูลเบื้องต้น การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์, ชนิด ...
ลักษณะทางกายภาคและการขยายพันธุ์
หอยงวงช้างกระดาษมีลักษณะเด่น คือ เฉพาะตัวเมียเท่านั้นที่มีเปลือกหุ้มตัว เพื่อใช้เป็นที่สำหรับวางไข่และฟักไข่ ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมาก และไม่มีเปลือกหุ้มตัว 
หอยงวงช้างกระดาษใหญ่ตัวเมีย

เปลือกหอยงวงช้างกระดาษมีลักษณะบาง เบา เปราะ และแตกหักง่าย ม้วนเป็นวงในแนวราบ วงเกลียวแรก ๆ เป็นสีน้ำตาลเข้มและค่อย ๆ จางลงเป็นสีขาวหม่นหรือสีครีมในวงเกลียวสุดท้าย วงเกลียวสุดท้ายจะคลุมวงเกลียวแรก ๆ ไว้ทั้งหมด ผิวเปลือกมีร่องตามขวางและสันหยัก ทำให้เห็นเป็นลอนตื้นจากจุดยอดออกไปในแนวรัศมี ตามสันเปลือกมีปมเรียงเป็นแถว โดยเปลือกของหอยงวงช้างกระดาษนั้นเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตที่เปราะบางคล้ายกระดาษ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ 

ตัวหอยงวงช้างกระดาษประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว ที่หัวมีตาขนาดใหญ่ 1 คู่ รอบปากมีหนวดหรือแขน 8 เส้น ลำตัวไม่มีครีบ ตัวเมียมีลำตัวคล้ายถุงรูปรี หัวเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว ปลายหนวดคู่แรกมีลักษณะแบน และมีต่อมที่ผลิตสารสำหรับสร้างเปลือก ตัวผู้มีลำตัวกลมคล้ายถุง หัวใหญ่ การผสมพันธุ์มีการจับคู่กัน ตัวเมียวางไข่ไว้ในเปลือก ไข่มีลักษณะเป็นไข่เดี่ยว ไข่แต่ละฟองมีตัวอ่อนเพียงตัวเดียว ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่มีหนวดสั้น ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 10–30 เซนติเมตรในตัวเมีย ขณะที่ตัวผู้มีความยาวเพียง 2 เซนติเมตรเท่านั้น คือเล็กกว่าตัวเมียได้มากถึง 30 เท่า

โดยการผสมพันธุ์จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาน ตัวผู้ที่มีขนาดเล็กกว่ามากจะทิ้งหนวดเอาไว้เกาะกับตัวเมีย ซึ่งสามารถคืบคลานไปมาได้และบรรจุไว้ซึ่งสเปิร์ม สำหรับในการปฏิสนธิตัวเมียอาจจะเก็บสะสมสเปิร์มของตัวผู้ไว้ได้หลายตัว และจะปฏิสนธิเมื่อเวลาผ่านไป ตัวเมียจะวางไข่เป็นสายพันอยู่รอบเปลือก เรียกว่า เปลือกหุ้มไข่ ซึ่งสามาถดูแลไปได้ด้วยขณะที่ไข่มีการพัฒนา ส่วนตัวผู้หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ก็จะตาย

ถิ่นที่อยู่อาศัย
หอยงวงช้างกระดาษอาศัยในทะเลที่ห่างฝั่ง ทั้งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงระดับน้ำลึกประมาณ 100 เมตร ว่ายน้ำได้ดี แต่มักจะเคลื่อนตัวไปตามกระแสน้ำมากกว่าว่ายไปเอง บางชนิดตัวเมียอาจยึดเกาะกับวัตถุในน้ำ หรือเกาะกันเองเป็นสายจำนวน 20–30 ตัว มักออกหาอาหารในเวลากลางวัน อาหารคือ สัตว์น้ำขนาดเล็ก หอยงวงช้างกระดาษมีทั้งหมด 7 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้วหลายชนิดตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์) ในน่านน้ำไทยมีการสำรวจพบ 3 ชนิด เปลือกมีความสวยงามแปลกตา จึงมักนำมาเป็นของตกแต่งบ้าน และรับประทานเนื้อเป็นอาหารในบางประเทศ

แม้จะเป็นสัตว์ที่ไม่ใคร่เป็นที่รู้จักหรือพบเห็นกันมากนัก แต่ทว่าที่จริงแล้ว เป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ดาษดื่นตามท้องทะเลทั่วไป ขณะเดียวกัน หอยงวงช้างกระดาษก็ตกเป็นอาหารของสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาทูน่า, โลมา หรือปลากระโทง เป็นต้น

การจำแนก
† Argonauta absyrtus
Argonauta argo (ชนิดต้นแบบ)
Argonauta bottgeri
Argonauta cornuta*
Argonauta hians
† Argonauta itoigawai
† Argonauta joanneus
Argonauta nodosa
Argonauta nouryi
† Argonauta oweri
Argonauta pacifica*
† Argonauta sismondai
† Argonauta tokunagai
*ยังเป็นที่สงสัยอยู่
มีชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ Obinautilus awaensis เคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Argonauta ด้วย แต่ปัจจุบันถูกจัดให้อยู่ในสกุล Obinautilus

ศัพท์มูลวิทยา
หอยงวงช้างกระดาษ ทั้งในชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อสามัญภาษาอังกฤษที่ใช้คำว่า "Argonaut" หรือ Argonauta นั้น หมายถึง "กะลาสีบนเรืออาร์โก" ตามเทพปกรณัมกรีก โดยแปลงมาจากภาษากรีกคำว่า ναυτίλος หมายถึง "กะลาสี" ซึ่งมาจากพฤติกรรมของหอยงวงช้างกระดาษที่มักใช้หนวดที่เป็นเสมือนแขนทั้ง 8 เส้นนั้นยกไว้เหนือลำตัวเสมือนใบเรือ เมื่ออยู่บนพื้นใต้ทะเล โดยชื่อนี้มีที่มาจากอริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่บรรยายถึงลักษณะของเปลือกหอยตัวเมียว่า เหมือนเรือและหนวดเป็นเหมือนใบเรือและพาย 

รูปภาพ
เปลือกหอยงวงช้างกระดาษชนิดต่าง ๆ
 
เปลือกของหอยงวงช้างกระดาษใหญ่ในมุมต่าง ๆ

เปลือกของหอยงวงช้างกระดาษใหญ่ในมุมต่าง ๆ

รายการบล็อกของฉัน