ปลาปอมปาดัวร์ หรือในภาษาอังกฤษว่า Discus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Symphysodon ซึ่งปลาปอมปาดัวร์อยู่ในครอบครัว Cichild และมีสีสรรที่สวยงาม จึงเป็นเหตุให้ถูกเรียกขานว่า ราชินีปลาตู้
รูปร่างลักษณะ ลำตัว ดูในด้านข้างมีลักษณะเป็นทรงกลม แต่จะพบว่าเมื่อมองหน้าตรงจะพบว่าแบน ลวยลายและสีสรรบนลำตัวนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิด ดวงตามีลักษณะ ค่อนข้างโตและกลม เพื่อไว้สอดส่องหาเหยื่อ ปากจะมีลักษณะหนาเล็ก(จะว่าไปก็คล้ายๆๆ ปลาปลานกแก้ว แต่ไม่เหมือน อิอิ) ชอบน้ำที่ค่อนข้างไหลเอื่อยๆ ไม่ใช่กระแสน้ำที่ไหลแรง ลีลาการว่ายน้ำสง่างาม เหมือนปลาทะเล(สีสรรด้วย) โดยเฉลี่ยแล้วปลาปอมปาดัวร์เมื่อมีขนาดโตเต็มที่ จะมีขนาดประมาณ 6-8 นิ้ว ปลาปอมจะเป็นปลาที่ขี้ตกใจพอสมควรเลย แต่สามารถฝึกให้เชื่องได้ครับ(เอาอาหารล่อ โดยการให้อาหารเป็นเวลา
อาหาร กินได้หลากหลายพอควรเลย ซึ่งอาหารที่โปรดที่สุด คือ ไส้เดือนน้ำจืด หรืออาหารจำพวกหนอนแดง ไรทะเล ลูกน้ำ และอื่นๆ ในกรณีที่ให้อาหารเม็ดควรให้อาหารเม็ดแบบจม เพราะว่าปลาปอมปาดัวร์ส่วนใหญ่จะหากินใต้ท้องจึงถึงระดับกลางน้ำ ใน ปัจจุบันพบว่า นอกจากอาหารที่ให้กินดังที่กล่าวแล้ว ผู้เลี้ยงจำนวนไม่น้อยเลยที่ใช้ หัวใจวัวบด แล้วนำไปให้ปลาปอมปาดัวร์กิน ซึ่งจากการทดลองของพูม และจากปากผู้เลี้ยง การนำหัวใจวัว ให้ปอมกินนั้นจะทำให้ปลาตัวหนา สมบูรณ์แข็งแรง และดูมีชีวิตชีวามากขึ้น (ปลาชอบมากๆๆเรย)
ลักษณะการเลี้ยงดู หลายๆคนคิดว่าการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาปราบเซียน พูมก็ขอบอกไว้เลยว่าไม่ยากและวุ่นวายอย่างที่คิด โดยอันดับแรกเลย คือ การจัดสภาพแวดล้อมภายในตู้ อาจจะจัดในแบบที่มีไม้น้ำหรือตู้โล่งๆก็ได้ โดยให้กระแสน้ำไหลเอื่อยๆ (ส่งผลดีต่อรูปร่างของปลาด้วย ตัวปลาจะได้ไม่ดูเรียวยาว และยังทำให้ว่ายน้ำสง่า) โดยปกติ ปลาปอมจะชอบpH ที่เป็นกรดอ่อนๆ หรือ pH กลางๆ การเลี้ยงปลาปอมท่ดีควรมีระบบกรองที่ดีพอสมควร และควรมีการถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ (ปกติ ในฟาร์มจะถ่ายทุกวัน) โดยการถ่ายน้ำจะช่วยให้ปลาโตเร็ว กินเก่ง และไม่เกิดอาการฝุ่นหรือเขม่าจับที่ตัวปลา(อธิบายไม่ถูกอ่ะ 555 คือ ในปลาตระกูลmarboro red หรือ siam gold ถ้าปลามีจุดสีดำๆๆอันนั้นและคือฝุ่น ถ้าเยอะ จะถือว่าเป็นปลาที่ไม่สวย) ในตู้เลี้ยงควรมีฮีตเตอร์ไว้ด้วยครับ เพื่อที่จะทำให้อุณหภูมิไม่แกว่ง และลดความเสี่ยงจากการติดโรคจุดขาวด้วยครับ (ปลาชนิดนี้จะพบว่าเป็นโรคนี้บ่อย และร้ายแรงด้วย)
การดูเพศ การดูเพศปลาปอม จะค่อนข้างซับซ้อนหน่อยครับ โดยถ้าดูทางกายภาพโดยรวม ครีบกระโดงด้านบนตอนปลายของตัวผู้จะใหญ่กว่าของตัวเมีย และในบางตัวพบว่ามีเปียร์ด้วย (แต่ในบางกรณีตัวเมียก็มี) โดยตัวผู้จะใหย๋กว่าตัวเมีย ส่วนหัวจะดูกลมกว่าและหนากว่าตัวเมียครับ จากกายภาพก็ยังทำให้สับสนพอสมควร ดังนั้นก็จะมาดูที่อวัยวะเพศกัน ถ้ามองด้านตรงแล้วพบว่า ตรงช่องอวัยวะเพศเป็นสี่เหลี่ยม นั่น คือ ตัวผู้ แต่ถ้าดูกลม นั่นคือตัวเมีย และในช่วงใกล้ผสมพันธุ์จะสังเกตได้ว่า ตัวเมียจะมีท่อนำไข่ยื่นยาวออกมาอย่างเห็นได้ชัด จากรูปด้านบน ตัวผู้อยู่ขวา ตัวเมียอยู่ซ้ายครับ
การผสมพันธุ์(อย่างคร่าวๆๆละกันครับ ไม่งั้นคงจะร่ายยาว) เมื่อพบว่าปลาจับคู่แล้วควรแยกปลาออกมาจากปลาตัวอื่นๆครับ โดยการเตรียมตู้นั้น เน้นตู้ที่ต้องปิดฉากทั้ง3ด้าน เพื่อรบกวนปลาน้อยที่สุด โดยเราจะต้องนำโดม หรือ ภาชนะที่จะให้ปลาวางไข่มาวางไว้ตรงมุม หรือ ตรงกลางก็ได้ครับ แต่พูมแนะนำว่า เอาไว้ตรงกลางดีกว่าครับ เพราะว่า เวลาทำความสะอาดจะทำได้ง่ายกว่า เหตุที่ใช้โดม เพราะปลาปอมนั้นเป็นปลาประเภทไข่ติดกับวัตถุหน่ะครับ โดยตามธรรมชาติจะไข่ไว้กับขอนไม้หรือโขดหิน พฤติกรรมเมื่อปลาจับค่กัน คือ จะแสดงการเกี้ยวพาราสีเมื่อพบคู่ตรงข้ามครับ โดยจะทำตัวงอๆๆ แล้ว ว่ายไปกางครีบเครืองเบ่งบานที่สุดใส่เพศตรงข้ามครับ อันนี้คือระยะแรกแสดงให้เห็นว่าปลาจับคู่กันแล้ว ส่วนในระยะที่ปลาจะเริ่ม ว่าไข่ จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการสั่นของปลาครับ ถ้าพบว่ามีการสั่นทั้งสองตัวแสดงว่าไม่ช้านานคงจะออกไข่แน่แท้.........แล้วเราก็จะได้ชื่นชมความสวยงามของปลาปอมปาดัวร์ครับ..........