Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลาฉลามหางไหม้(Bala shark)

ปลาฉลามหางไหม้
ปลาฉลามหางไหม้ชนิด Balantiocheilos melanopterus 

เป็นชนิดที่พบในประเทศอินโดนีเซีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:     Animalia
ไฟลัม:     Chordata
ชั้น:     Actinopterygii
อันดับ:     Cypriniformes
วงศ์:     Cyprinidae
วงศ์ย่อย:     Garrinae
สกุล:     Balantiocheilos Bleeker, 1860

ชื่ออื่นๆ ปลาฉลามหางไหม้, ปลาฉลามหางเหยี่ยว, หนามหลังหางดำ
ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันดีในแวววงปลาสวยงามในชื่อ ปลาฉลามหางไหม้ (อังกฤษ: Bala shark, Burn tail shark, Silver shark, Black tailed shark) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Balantiocheilos (/บา-แลน-ทิ-โอ-ไคล-ออส/)

มีรูปร่างคล้ายปลาตามิน (Amblyrhynchichthys truncatus) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขนาดใหญ่ และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย จะงอยปากแหลม มีเยื่อไขมันเป็นวุ้นรอบนัยน์ตา ครีบท้องมีก้านครีบแขนงทั้งหมด 9 ก้าน ไม่มีหนวด มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหางสีส้มแดงหรือสีเหลืองอมขาว และมีขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20-30 เซนติเมตร

"ปลาฉลามหางไหม้” จัดเป็นปลาน้ำจืดที่เคยพบในเขตภาคกลางของประเทศไทยบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าได้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว นอกจากในบ้านเราแล้วยังพบในลุ่มน้ำในประเทศอินโดนีเซีย (ที่เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว), มาเลเซียและกัมพูชา เป็นต้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัจจุบันคนไทยประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลาฉลามหางไหม้ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยมีหลักการเบื้องต้นคล้ายกับการผสมพันธุ์ปลาตะเพียน จะมีเทคนิคแตกต่างกันเล็กน้อย
ปลาฉลามหางไหม้
ลักษณะทั่วไปของปลาฉลามหางไหม้
ลำตัวมีลักษณะแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีเงิน หางเว้าเป็นสองแฉก ครีบมีสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทุกครีบมีสีดำยกเว้นครีบอก ปากมีขนาดเล็กสามารถยืดหดได้ ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่าง อุปนิสัยของปลาชนิดนี้เป็นปลาที่รักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตื่นตกใจง่าย ชอบกระโดดออกนอกอ่างหรือตู้ มักจะว่ายอยู่ตลอดเวลา

การเพาะพันธุ์อาศัยการวางไข่ครั้งประมาณ 6,000 – 7,000 ฟอง ฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง การสังเกตุเพศของปลาดูได้จากลักษณะลำตัว โดยปลาตัวเมียลำตัวจะกว้างกว่าตัวผู้ และในช่วงวางไข่ท้องจะอูมกว่า อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนี้ใช้ได้ทั้งอาหารสาเร็จรูปและอาหารสดประเภท ลูกน้ำ หนอนแดง ตัวอ่อนแมลง ฯลฯ

จัดเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้หรืออ่างอาจจะพบปัญหาเรื่องการกระโดดออกนอกอ่างหรือตู้ได้ เคยพบปลาฉลามหางไหม้ในธรรมชาติที่เจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดลำตัวถึง 14 นิ้ว....

เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน