ปลาสลาด (เบงกาลี: ফলি) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Osteoglossiformes
วงศ์:Notopteridae
สกุล:NotopterusLacepède, 1800
สปีชีส์: N. notopterus
ชื่อไทย สลาด ฉลาด ตอง หางแพน วาง
ชื่อสามัญ GREY FEATHER BACK
ชื่อวิทยาศาสตร์ Notopterus notopterus
ถิ่นอาศัย พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและสะอาด มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคเหนือเรียก “หางแพน” แต่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ปลาวาง” ภาคอีสานมีชื่อว่า “ปลาตอง”
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลากรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัด คือ ปลาสลาดไม่มีจุดสีดำเหนือครีบก้นเหมือนอย่างปลากราย ปลาสลาดมีลำตัวเป็นสีขาวเงินปนเทา ปากกว้างไม่เกินขอบหลังของลูกตา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียวกัน
อาหารธรรมชาติ กินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus
พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก
ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ตอง", "ฉลาด" หรือ "ตองนา" เป็นต้น
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Osteoglossiformes
วงศ์:Notopteridae
สกุล:NotopterusLacepède, 1800
สปีชีส์: N. notopterus
ชื่อไทย สลาด ฉลาด ตอง หางแพน วาง
ชื่อสามัญ GREY FEATHER BACK
ชื่อวิทยาศาสตร์ Notopterus notopterus
ถิ่นอาศัย พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและสะอาด มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคเหนือเรียก “หางแพน” แต่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ปลาวาง” ภาคอีสานมีชื่อว่า “ปลาตอง”
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลากรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัด คือ ปลาสลาดไม่มีจุดสีดำเหนือครีบก้นเหมือนอย่างปลากราย ปลาสลาดมีลำตัวเป็นสีขาวเงินปนเทา ปากกว้างไม่เกินขอบหลังของลูกตา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียวกัน
อาหารธรรมชาติ กินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus
พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก
ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ตอง", "ฉลาด" หรือ "ตองนา" เป็นต้น
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen