Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Giant Snake-head Fish (ปลาชะโด)

ปลาชะโด
ชื่อสามัญ : Giant Snake-head Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa micropeltes

ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืด ลำตัวกลมยาวเป็นรูปทรงกระบอก รูปร่างคล้ายคลึงกับปลาช่อน เป็นปลาที่มีรูปร่างใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ ลูกปลาชะโดเมื่อยังเล็ก ลำตัวมีสีน้ำตาลและแถบสีเหลืองอมส้มพาดตามยาว โดยบริเวณโคนหางมีสีแดงสด เมื่อโตขึ้นส่วนบนของลำตัวมีสีเขียวอมน้ำเงินเข้มคลายสีเปลือกหอยแมลงภู่ ส่วนท้องสีขาว กึ่งกลางลำตัวมีแถบดำพาดไปตามความยาวของลำตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางมนกลม ปลาชะโดมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจโดยไม่ต้องกรองผ่านช่องเหงือกเหมือนปลาช่อน
นิสัย
เป็นปลาน้ำจืดที่ค่อนข้างดุ
ถิ่นอาศัย
ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
อาหาร
สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ลักษณะทั่วไป
ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้เป็นชั้นใหญ่ ๆ ดังนี้
    
ปลาไม่มีขากรรไกร (Agnatha) แบ่งเป็น แฮคฟิช พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมป์เพรย์ พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
    
ปลากระดูกอ่อน (Cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาโรนัน, ปลาฉนาก, ปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 400 ชนิด
    
ปลากระดูกแข็ง (Bony fish) คือปลาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
    
ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fish) คือ ปลาที่มีครีบต่าง ๆ เป็นพู่หรือกลีบ ใช้ในการเคลื่อนไหวใต้น้ำเหมือนเดิน ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์, ปลาปอดเป็นต้น
    
ปลามีเกราะ (Armoured fish) เป็นปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือเป็นบรรพบุรุษของปลาทั้งหมด ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว มีเกล็ดหนาหุ้มตลอดลำตัวเหมือนชุดเกราะ

ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดเท่าที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่น ปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา 
ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ลักษณะทางกายวิภาค-กายวิภาคของปลา
ปลาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำด้วยครีบ โดยจะใช้ครีบบริเวณหลังและครีบบริเวรก้นสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งปลาในชนิดต่าง ๆ อาจจะใช้ครีบบริเวณหูและครีบบริเวณก้นในการเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ปลาบางชนิดอาจจะใช้อวัยวะบางส่วนเช่นครีบบริเวณท้อง เพื่อสำหรับทำหน้าที่ให้เหมือนกับเท้าของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตีน เพื่อไว้สำหรับการเคลื่อนไหวไปมา สามารถปีนป่ายก้อนหินและรากไม้ได้อย่างอิสระเสรี ภาพโดยรวมแล้วอวัยวะต่าง ๆ ของปลาประกอบด้วย
    
1.ปาก  - จมูก 
2.ดวงตา - กระพุ้งแก้ม 
3.ครีบหู -  ครีบท้อง
4.ครีบหลัง - ครีบก้น
5.ครีบหาง - ช่องก้น 
7.เส้นข้างลำตัว

มีซึ่งนอกจากครีบแล้วปลายังมีอวัยวะต่าง ๆ ที่มีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกด้านต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ได้แก่ เส้นข้างลำตัว, เกล็ด เป็นต้น
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน