Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ปลาแฟนซีคาร์พ (Fanct Carp)


ปลาแฟนซีคาร์พ (Fanct Carp) 
เป็นชื่อทีใช้เรียกปลาในสกุล (GENUS) 
เดียวกันกับปลาใน (crucian Carp) 
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า cyprinus carpio linn

เป็นปลาน้ำจืดที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบัน เป็นปลาที่สามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำ จืดที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้มาก แม้ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงขนาดมีหิมะปกคลุมหรือสภาพอากาศร้อนปลาชนิดนี้ก็าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้ จึงแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้ทั่วโลก

ในยุคต้นๆชาวจีนนับเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาไนซึ่งเป็นต้นตระักูลของปลาแฟนซีคาร์ฟมาเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว โดยชาวจีนเรียกปลาไนว่า หลีจื้อ หรือ หลีโกวง ปลาไนน่าจะมีอิทธิพลต่อชาวจีนเป็นอันมาก ซึ่งจะพบหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดของปลาไนปรากฏในภาพเขียนของจีนสมัยราชวงศ์์โจว

เดิมทีปลาไนตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีเพียงสีดำ สีเทาดำ หรือสีน้ำตาลดำเท่านั้นเมื่อราวปี พ.ศ. 808 -859 ปรากฏว่ามีปลาไนบางตัวกลายพันธุ์เป็นสีส้ม ชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อชมความสวยงามจนเป็นที่แพร่หลายต่อมาราวศตวรรษที่ 18 ที่เมืองโอจิยา(Ojiya) ซึ่งอยู่ในจังหวัดนิกาตะ(Neigate) ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้ได้นำปลาไนมาเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อประกอบเป็นอาหาร เนื่องจากชาวญุ่ปุ่นกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาชีพทำนาตามภูเขาสูงในชนบท ซึ่งมีการคมนาคมที่ไม่สะดวกในยามที่มีหิมะตกชาวญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านไปทำมาหากินได้ หลังจากที่มีการเพาะขยายพันธุ์มาหลายชั่วอายุุปลาจึงทำให้เกิดการผ่าเหล่า(Mutation)กลายพันธุ์เป็นปลาไนสีแดง ทำให้ชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้สนใจปลาชนิดนี้มากขึ้น การเพาะขยาย
พันธุ์ปลาชนิดนี้ค่อยๆขยายตัวแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นในปี ค.ศ. 1870
ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับเป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก  เช่น  ปลาคาร์พ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี
     
ทั้งนี้ ปลาคาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว
       
ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาคาร์พ เมื่อประมาณ 200 ปี หลังคริสต์ศตวรรษ โดยกล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น และได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ โดยมีแหล่งหรือศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ บริเวณเขาแถบเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และเมืองฮิโรชิมา     

สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi)
ประเภทของปลาคาร์พ      
ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พขึ้นใหม่ในเชิงการค้า
ทั้งหมด 13 สายพันธุ์หลัก โดยแบ่งแยกตามลักษณะของลวดลายและสีสันบนตัวปลา ได้แก่       
1. โคฮากุ (Kohoku) เป็นปลาที่มีลายขาวและแดง เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ลักษณะที่ดีสีแดงจะต้องคมชัดสม่ำเสมอ และสีขาวไม่ควรมีตำหนิใดๆ
           
2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke) ประกอบ ด้วย 3 สีด้วยกัน คือ ขาว แดง และดำ สีดำบนตัวปลานั้นควรดำสนิท และดวงใหญ่ ไม่ควรมีสีดำบนส่วนหัว รวมทั้งไม่มีสีแดงบนครีบและหาง
           
3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku) เป็น แฟนซี คาร์พสามสี เช่นเดียวกับไทโช ซันเก้ ที่แตกต่างกันก็คือ สีขาวและแดงจะรวมตัวอยู่บนพื้นสีดำขนาดใหญ่ และมีสีดำบริเวณเชื่อมต่อครีบ และลำตัวในลักษณะของตัว Y
           
4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono) เป็นแฟนซีคาร์พ ที่มีสีดำพาดผ่านบนพื้นสีอื่น โดยสีดำที่ปรากฏจะเป็นรอยปื้นยาวพาดบนตัวปลา
          
5. เบคโกะ (Bekko) เป็นแฟนซี คาร์พ ที่มีสองสี โดยมีลวดลายเป็นจุดดำแต้มอยู่บนพื้นสีต่างๆ ในขนาดที่ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป
          
6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui) อาซากิ ชูซุย เป็นสายพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากปลาไนโดยตรง จะมีเกล็ดสีฟ้าสวยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
          
7. โกโรโมะ (Koromo) เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอาซากิกับสายพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีเกล็ดสีน้ำเงินกระจายเด่นอยู่บนลวดลาย
         
8. โอกอน (Ogon) เป็นปลาที่ไม่มีลวดลาย โดยจะมีสีลำตัวสว่างไสว ปราศจากจุดด่างใดๆ
          
9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo) เป็นปลาที่มี 2 สี หรือมากกว่า โดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งสีที่แวววาวดุจโลหะ (Metallic)   
     
10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri) เป็นปลาที่มีลาดยพาดสีดำเช่นเดียวกับ อุจิริ โมโน บนพื้นที่มีความแวววาวคล้ายโลหะ       
11. คินกินริน (Kinginrin) เป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มที่มีประกายเงินหรือทองอยู่บนเกล็ด โดยเกล็ดจะดูนูนเหมือนไข่มุก        

12. ตันโจ (Tancho)  เป็นปลาที่มีสีแดงเพียงที่เดียวอยู่บนหัว โดยอาจมีรูปทรงกลมขนาดใหญ่ หรือรูปอื่นๆก็ได้         

13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono) เป็นปลาที่ไม่มีลักษณะลวดลายที่ตายตัว ต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีลวดลายเกิดขึ้นใหม่ทุกปี
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน