มหัศจรรย์..ปลานกขุนทอง
ตัวผู้ตาย..ตัวเมียแปลงเพศแทน
..ปลานกขุนทอง...เป็นปลากลุ่มเด่นอีกกลุ่มหนึ่งใน แนวปะการัง ตัวเต็มวัยมีขนาดผันแปรแตกต่างกันระหว่างชนิดจาก 10 เซนติเมตร ถึงกว่า 50 เซนติเมตร โดยลักษณะทั่วไป มีลำตัวแบนเรียวยาว ครีบหางเว้าเป็นรูปโค้งวงพระจันทร์ ตัวมีทั้งสีเขียว แดง เทา ด้านหน้ามีลายสีชมพู ครีบอกสีชมพูขอบฟ้า ขอบครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีชมพูอมน้ำเงิน ปลายหางมีสีเหลืองรูปพระจันทร์เสี้ยว ขนาด 20 เซนติเมตร
ตัวผู้ตาย..ตัวเมียแปลงเพศแทน
..ปลานกขุนทอง...เป็นปลากลุ่มเด่นอีกกลุ่มหนึ่งใน แนวปะการัง ตัวเต็มวัยมีขนาดผันแปรแตกต่างกันระหว่างชนิดจาก 10 เซนติเมตร ถึงกว่า 50 เซนติเมตร โดยลักษณะทั่วไป มีลำตัวแบนเรียวยาว ครีบหางเว้าเป็นรูปโค้งวงพระจันทร์ ตัวมีทั้งสีเขียว แดง เทา ด้านหน้ามีลายสีชมพู ครีบอกสีชมพูขอบฟ้า ขอบครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีชมพูอมน้ำเงิน ปลายหางมีสีเหลืองรูปพระจันทร์เสี้ยว ขนาด 20 เซนติเมตร
สำหรับที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้ คือ...ปลานกขุนทองหัวโหนก (Napoleon wrasse)หรือปลานโปเลียน ซึ่งมี ขนาดใหญ่ถึง 2 เมตร และส่วนใหญ่ ว่ายน้ำเป็นอิสระไม่ รวมฝูง ยกเว้นช่วงที่มีความต้องการเพื่อผสมพันธุ์มักพบได้ตาม แนวปะการังในน่านน้ำไทยประมาณ 70 ชนิด เช่น ปลานกขุนทองแถบเขียว, ปลานกขุนทองปากยื่น, ปลานกขุนทองตารางหมากรุก, ปลานกขุนทองหกบั้ง, ปลานกขุนทองเขียวพระอินทร์ ฯลฯ
...ด้วยชีวิตของปลานกขุนทองที่มีความ หลากหลาย....ทาง ดร.ภาสิณี วรชนะนันท์ อาจารย์จากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ลงมือดำน้ำลงไปใต้ทะเลเพื่อทำวิจัยเรื่อง...ความหลากหลายของปลานกขุน ทองในแนวปะการังขึ้น โดยพบว่า ปลานกขุนทองเป็นปลาที่อยู่ในครอบครัว Labridae จัดเป็นกลุ่มปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 และเป็นกลุ่มปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังที่มีมากถึง 500 ชนิด
จาก การศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานและการแพร่ กระจายของปลานกขุนทองในแนวปะการังของประเทศไทยนั้น พบ ปลานกขุนทองทั้งหมด 27 สกุล 70 ชนิด โดยพบในฝั่งอันดามัน 65 ชนิด พบใน ฝั่งอ่าวไทย 27 ชนิด โดยที่หมู่เกาะสุรินทร์เป็นจุดที่พบจำนวนชนิดของปลาในครอบครัวนี้ได้มากที่ สุด ในจำนวนนี้ มีชนิดที่ยังไม่เคยมีรายงานการพบใน ประเทศไทยมาก่อน 9 ชนิดนอกจากนี้ ยังพบ ชนิดที่มีเฉพาะแห่ง 8 ชนิด โดยเฉพาะที่อ่าว ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต พบชนิดที่ถูก จับไปขาย 34 ชนิด ซึ่งเขต อันดามันเหนือ มีความหลากหลายมากที่สุด รองลงมาคือ เขต อันดามันใต้ อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันออก และ อ่าวไทยฝั่งตะวันตก ตามลำดับ...
ใน การแพร่กระจายของปลานกขุนทอง ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเขตร้อนและสามารถพบได้ในทุกเขตสภาพแวดล้อมของแนว ปะการัง โดยมักอยู่ตัวเดียว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม เวลานอนจะนอนในรูหรือรอยแยกของหิน บางชนิดที่มีขนาดเล็กฝังตัวอยู่ในทราย อาหารเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น หอยฝาเดียว หอยสองฝา กุ้ง ปู ปลา รวมถึงแพลงก์ตอนสัตว์ สาหร่ายและปรสิตที่อยู่ภายนอกร่างกาย โดยหากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
...พฤติกรรม ที่สำคัญของปลานกขุนทอง...สามารถที่จะเปลี่ยนเพศได้ แต่สาเหตุ ของการเปลี่ยนเพศยังไม่ ชัดเจน เช่น สิ่งที่กระตุ้นให้ เกิดการเปลี่ยนเพศ...ความสัมพันธ์ระหว่างเพศผู้และสภาวะทางสังคมหรือขนาดของ ร่างกาย และสภาวะทางสังคม คือ ปลาเพศผู้ขนาดใหญ่ 1 ตัวจะปกครองกลุ่มของเพศเมียมากถึง 6 ตัว โดยกลุ่มของเพศเมียจะมีการปกครอง กันเองโดยใช้ระบบลำดับขั้น ซึ่งเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะมีลำดับขั้นที่สูงที่สุด และสามารถที่จะอยู่ร่วมกันภาย ในอาณาเขตของเพศผู้ได้
ถ้าเพศเมียที่ มีขนาดใหญ่ที่สุดหรือตัวใดตัวหนึ่งออกไป เพศเมียในลำดับถัดไปก็จะเลื่อนขึ้นมาแทน หรือ ถ้าตัวผู้ตายลงไป...เพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก็จะเปลี่ยน แปลงตัวเองให้มีพลังอำนาจภายในไม่กี่ชั่วโมงพร้อมเริ่มรับบทบาทหน้าที่ของ เพศผู้ ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเป็นตัวผู้อย่างสมบูรณ์ ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน...ซึ่งเป็น...ความมหัศจรรย์แห่งโลกใต้ทะเล..!!