Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

ปริศนา ความฉลาดหมึกยักษ์ พบว่า หนวดแต่ละเส้นมีสมองของตัวเอง

ค้นหา
Custom Search
🐙เป็นเรื่องที่สงสัยกันมานานว่าสิ่งมีชีวิต “หมึกยักษ์” เป็นสัตว์จากต่างดาวรึเปล่านะ ? เพราะมันเปลี่ยนได้ทั้งสี , แก้ไขยีนตัวเองได้ , ขึ้นจากทะเลมาอยู่บนบกได้นานร่วมชั่วโมง

นอกจากนี้มันยังสามารถแก้ปริศนาอย่างการหลบหนีออกจากขวดโหลที่ถูกปิดฝาไว้ได้อีกด้วย ซึ่งผลการศึกษาล่าสุดพบว่า หนวดทั้ง 8 เส้นของมันมีสมองเป็นของตัวเอง ทุกเส้นสั่งการแยกส่วนกัน รวมถึงยังสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระเองอีกด้วย !
🐙หมึกยักษ์มีเซลล์ประสาททั้งหมดรวมกันประมาณ 500 ล้านเซลล์ (มากกว่าครึ่งอยู่นอกสมอง) โดยในหนวดแต่ละเส้นจะมีกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระจากประสาทส่วนกลาง หรือจะเรียกว่ามันมีสมองอีก 8 ก้อน นอกเหนือจากสมองหลักก็ได้ครับจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หนวดของหมึกยักษ์ที่ถูกตัดขาด ยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้นานถึง 1 ชั่วโมง
(มันยังสามารถหยิบจับหรือพยายามส่งอาหารเข้าปาก … ซึ่งไม่มีแล้ว)

👨ล่าสุดทีมวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้นำเสนอแบบจำลองที่แสดงให้เห็นถึงการส่งต่อข้อมูลระหว่างหนวดและสมองของหมึกยักษ์ ผลวิจัยปรากฎว่า มีข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่จะไหลผ่านสมองส่วนกลางทั้งหมด (ไม่ใช่ทุกข้อมูล)

โดมินิค ซิวิทิลลิ หนึ่งในทีมวิจัย อธิบายถึงความฉลาดกว่าสัตว์ทั่วไปว่า “เซลล์ประสาทในหนวดของหมึกยักษ์สามารถรับข้อมูลทางประสาทสัมผัสจากสภาพแวดล้อม จากนั้นก็เริ่มตอบสนองอัตโนมัติโดยไม่ปรึกษาประสาทส่วนกลาง ซึ่งการมีศูนย์สั่งการของประสาทเพิ่มขึ้นมาอีกแปดหน่วย เพื่อประมวลผลต่อสิ่งกระตุ้นเร้า ทำให้หมึกยักษ์สามารถคิดและตอบสนองได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งได้เปรียบในเชิงวิวัฒนาการ”

เราอาจเคยเห็นคลิปการทดลองที่แสดงความฉลาดของหมึกยักษ์ เช่นการเปิดเหยือกหรือออกจากถังเพื่อหลบหนี ซึ่งเป็นพฤติกรรมเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่ระบบประสาทของมันนั้นได้พัฒนาต่างจากมนุษย์ และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นมาก
🐙หมึกยักษ์ (Octopus) จัดอยู่ในคลาสเซฟาโลพอด (cephalopods) เช่นเดียวกับหมึกกล้วยและหมึกกระดอง นับเป็นสัตว์ทะเลที่มีสติปัญญา พวกมันแตกต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีระบบประสาทส่วนกลาง (ทำงานในลักษณะสั่งการจากสมองสู่อวัยวะ) แต่พวกเซฟาโลพอดจะมีกลุ่มเซลล์ประสาทหลายกลุ่ม เรียกว่า
“ปมประสาท” ทั่วร่างกาย  จึงทำให้มันตอบสนองได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

👨ทีมวิจัยได้ใช้กล้องและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของหมึกยักษ์ และวิเคราะห์ว่า การกระทำใดที่สมองจะประสานกับหนวด พบว่า หากหนวดกำลังเคลื่อนที่ไปด้วยกันสมองก็มีแนวโน้มจะเป็นผู้ดำเนินการ แต่หากหนวดมีการต่อต้านมันก็จะทำงานแยกส่วนกัน
👉ดูแล้วก็คล้ายกับนิยายวิทยาศาสตร์นะครับ สิ่งมีชีวิตที่แต่ละอวัยวะสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยความคิดของตัวเอง
ซึ่งทีมวิจัยได้กล่าวทิ้งท้ายว่า

“การศึกษานี้ให้ความรู้สึกคล้ายกับสังเกตุการณ์พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวยังไงยังงั้น สิ่งมีชีวิตชนิดนี้เป็นแบบจำลองทางเลือกสำหรับการรูจักคิด มันทำให้เราเข้าใจความหลากหลายของความรู้ความเข้าใจในโลกและจักรวาล” –  โดมินิค ซิวิทิลลิ กล่าว
Fact – จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ พบว่าหมึกยักษ์สามารถลอดรูเล็ก ๆ ได้ ด้วยการใช้หนวดวัดขนาดความกว้างของรูก่อน ก่อนที่จะใช้หนวดทั้งหมดค่อย ๆ มุดลอดออกไป และมันยังมีหัวใจ 3 ดวง แขน 8 ข้าง และสมองอีก 9 ก้อน

รายการบล็อกของฉัน