Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

ปลาดุกไฟฟ้าไซต์เล็กกับพลังไฟ 350 โวลต์


ปลาดุกไฟฟ้า อ้วนกลมไซต์เล็กกับพลังไฟ 350 โวลต์
ผมว่าพวกปลาที่มีไฟฟ้า มันแข็งแกร่งที่สุดในสัตว์จำพวกปลาละ เพราะเท่าที่คิดดู ด้วยพลังไฟฟ้าที่แรงพอที่จะช็อตไอ้เข้ตายได้ หรือถ้าอยากกินปลามันแค่ขยับหัวไปโดนปลาตัวนั้นก็หงายท้องให้มันกินสบายๆ และผมเองก็เคยเขียนเรื่องปลาไหลไฟฟ้าไป มาถึงตรงนี้ขอเอาเรื่องปลาดุกไฟฟ้าบ้าง โดยเจ้านี่ถ้าเทียบกับปลาไหลไฟฟ้า มันก็เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กนั้นล่ะ และผมมีคลิป กับเนื้อหาให้น้าๆ ได้อ่านกัน ยังไงดูคลิปแล้วกลับมาอ่านเนื้อหาเพื่อทำความรู้จักเจ้าปลาตัวนี้กัน

“ปลาดุกไฟฟ้า (Electric catfish) เป็นสกุลปลาหนังน้ำจืดในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า ใช้ชื่อสกุลว่า Malapterurus (/มา-แลป-เทอ-รู-รัส/) มาจากภาษากรีกคำว่า μαλακός (malakos) หมายถึง “อ่อนนุ่ม”, πτερων (pteron) หมายถึง “ครีบ” และ ουρά (oura) หมายถึง “หาง” โดยมีความหมายถึง ครีบไขมันที่แลดูโดดเด่น เนื่องจากปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบหลัง”

ลักษณะของปลาดุกไฟฟ้า
โดยรวมมีรูปร่างกลมยาวอวบอ้วน ทรงกระบอกคล้ายไส้กรอก ตามีขนาดเล็ก ริมปากหนาและรูจมูกกลมและมีความห่างจากกันพอสมควร ช่องเหงือกแคบและบีบตัว มีหนวดสามคู่ ไม่มีครีบหลัง มีครีบไขมันขนาดใหญ่อยู่ค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัวติดกับครีบหาง ครีบทุกครีบปลายครีบมนกลม ถุงลมแบ่งเป็นสองห้องยาว

มีลำตัวทั่วไปสีน้ำตาลหรือเทา และมีลายจุดหรือกระสีคล้ำกระจายอยู่บนหลังและด้านข้างลำตัว ใต้ท้องเป็นสีขาวไม่มีลาย คอดหางมีลายแถบสีคล้ำสลับขาว และครีบหางมีลายสีขาวคล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางครีบ

ปลาดุกไฟฟ้ามีอยู่หลายชนิด บางชนิดก็สวยงาม บางชนิดก็ดูดิบเถือน
เป็นปลาที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้
ปลาดุกไฟฟ้าถึงแม้จะปล่อยไฟฟ้าได้แรงน้อยกว่าปลาไหลไฟฟ้า แต่มันก็ปล่อยได้ถึง 350 โวลต์ ในขนาดลำตัว 50 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวได้ถึง 122 เซนติเมตร และน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ซึ่งอาจปล่อยกระแสไฟฟ้าได้แรงกว่า

ถิ่นอาศัยของปลา
เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำไนล์, แม่น้ำคองโก, แม่น้ำแซมเบซี, แม่น้ำไนเจอร์ และแม่น้ำหลายสาย ในทวีปแอฟริกา รวมถึงทะเลสาบต่าง ๆ เช่น ทะเลสาบแทนกันยีกา หรือทะเลสาบชาด ชอบอาศัยอยู่ในน้ำขุ่น มีวัสดุต่าง ๆ เช่น ตอไม้หรือโพรงหินสำหรับหลบซ่อนตัว

โดยปลาดุกจะใช้ไฟฟ้าในการป้องกันตัว และช็อตเหยื่อสำหรับเป็นอาหาร เป็นปลาที่เคลื่อนไหวได้ช้า เมื่อช็อตเหยื่อจนสลบแล้วจึงค่อยกินอย่างสบายๆ
สำหรับปลาดุกไฟฟ้า ผมจำได้ว่าเคยเห็นตามร้านปลาสวยงามในไทยด้วย ถ้าน้าๆ ท่านไหนคิดจะเลี้ยงมันก็ระวังกันนิดนึง เพราะยังไงซะมันก็มีไฟฟ้าตั้ง 350 โวลต์ ถึงมันจะไม่ถึงตาย แต่ก็อาจบาดเจ็บได้ ถ้าชอบเรื่องนี้ก็แบ่งให้น้าๆ ท่านอื่นอ่านกันบ้างนะ (ปลาไหลไฟฟ้า – ปลาดุกไฟฟ้า มีกฎหมายห้ามเลี้ยงนะ)

ตัวนี้ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา มันจะดูดิบๆ เถื่อนๆ หน้าตาตลก เป็นตัวที่โตได้เต็มที่ 1 เมตร ส่วนพลังไฟฟ้าตามมาตรฐาน 300 โวลต์

รายการบล็อกของฉัน