วันนี้ก็จะมานำเสนอปลาหมอแปลกๆโดยเฉพาะปลาหมอที่เราไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนปลาหมอที่มีชื่อว่าปลาหมอกิบเบโรซ่า
ปลาหมอกิบเบโรซ่า
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyphotilapia gibberosa) ปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดอยู่ในสกุล Cyphotilapia ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับปลาหมอฟรอนโตซ่า (C. frontosa) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี โดยถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นระยะเวลาครบ 100 ปีพอดีของการอนุกรมวิธานปลาหมอฟรอนโตซ่า
ข้อมูลเบื้องต้น ปลาหมอกิบเบโรซ่า, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
เป็นปลาที่เลี้ยงลูกและอมลูกปลาในปากเพื่อความปลอดภัยเหมือนปลาหมอฟรอนโตซ่า และปลาหมอสีส่วนใหญ่ โดยมีความแตกต่างกันจากปลาหมอฟรอนโตซ่าที่จำนวนเกล็ดข้างลำตัว
ที่ปลาหมอฟรอนโตซ่าจะมีจำนวนเกล็ดประมาณ 33–35 ชิ้น ขณะที่ปลาหมอกิบเบโรซ่ามีประมาณ 34–36 ชิ้น และเกล็ดบริเวณเส้นประบริเวณลำตัว 2 เส้น คือ เส้นบนและเส้นล่าง ที่ย้อนขึ้นไปบริเวณส่วนหัว เกล็ดในบริเวณระหว่างเส้น 2 เส้นนั้น ปลาหมอกิบเบโรซ่าจะมีจำนวนเกล็ด 3 ชิ้น ในขณะที่ ปลาหมอฟรอนโตซ่าจะมีเพียง 2 ชิ้น มีแถบบนลำตัวทั้งหมด 6 แถบ
พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทะเลสาบแทนกันยีกา เหมือนปลาหมอฟรอนโตซ่า โดยจะพบทางทางใต้ของทะเลสาบ แถบชายฝั่งตะวันออกและทางฝั่งตะวันตก และพบในระดับน้ำลึกประมาณ 34 เมตร ขณะที่ปลาหมอฟรอนโตซ่าจะอยู่ในระดับน้ำตื้นกว่า
🤓ไม่รู้สินะครับเราเป็นคนที่ชอบอะไรที่แปลกๆเช่นเรื่องราวแปลกๆสัตว์แปลกๆลึกลับปริศนา..คือไม่ชอบข่าวแบบไร้สาระหรือข่าวการเมืองหรือข่าวดารา
เพราะฉะนั้นบทความของเราจะเน้นไปที่ข้อมูลแปลกๆหรือที่มีสาระมากกว่า
คือทำตามใจตัวเองนะครับไม่สนใจว่าใครจะชอบหรือไม่ชอบ
คลิปประกอบบทความเพื่อการอ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม