Search

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566

ปลามะไฟ (อังกฤษ: Stoliczkae's barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pethia stoliczkana) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง


วันนี้เราก็มีปลาแปลกๆมานำเสนออีกเช่นเคยนะครับวันนี้จะเป็นปลามะไฟ
อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นผลไม้มะไฟมะเฟือง

แต่นี่มันคือปลาชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์หรือ


ปลามะไฟ (อังกฤษ: Stoliczkae's barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pethia stoliczkana) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวทรงสี่เหลี่ยมป้อมเล็กน้อย หัวสั้น ตาและปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงิน เหนือครีบอกและโคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเหลือบบนลำตัว ครีบใสมีสีแดงแต้ม และมีแถบสีคล้ำเล็กน้อย


ข้อมูลเบื้องต้น ปลามะไฟ, สถานะการอนุรักษ์ ...
เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมตัวเป็นฝูงในแหล่งน้ำลำธารที่ไหลเชี่ยวบนภูเขาในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำโขง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีนิสัยดุร้าย และมีอาณาเขตของตนเอง


เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า

 "ปลาตะเพียนจุด", นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเสือภูเขา" หรือ "ปลามุมหมาย" นอกจากนี้แล้วปลามะไฟยังมีความคล้ายคลึงกันมากกับปลาอีกชื่อหนึ่งในสกุลเดียวกัน คือ P. ticto (อังกฤษ: Tic-tac-toe barb, Two-spot barb) ซึ่งอาจจะเป็นชื่อพ้องกันก็ได้ 


และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์หรือ LC
ค้นหา

รายการบล็อกของฉัน